เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีพระศพ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
๑. สางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
๒. เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน
ฉัตร 9 ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร 7 ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร 5 ชั้น : สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน 5 ชั้น
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง 100 วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ในวันที่ 9 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้พนักงานจัดเศวตฉัตรขึ้นเป็น ๗ ชั้น กางกั้นพระโกศ โดยอนุโลมตามโบราณราชประเพณี พระราชทานเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศให้ปรากฏสืบไป
๓. ประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ 06.00 น. 09.00 น. 12.00 น. ไปจนถึง 24.00 น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ 3 ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก 10-15นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล)
๔. สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า" ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า "พระศพ" ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า "พระบรมศพ" ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
๕. การแต่งฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ การแต่งกายของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ สำหรับการไว้ทุกข์มี 2 แบบ ฉลองพระองค์เต็มยศ และฉลองพระองค์แบบสากล แบบแรกฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจักรี ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย และจะฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศสายสะพายจักรี ในการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน 100 วัน และวันออกพระเมรุ ส่วนแบบสากลฉลองพระองค์สูทสีดำ ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย สำหรับข้าราชการ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็แต่งกายไว้ทุกข์ตามราชประเพณีตามแต่จะมีหมายกำหนดการกำหนดแจ้งไว้ ส่วนประชาชนก็แต่งกายไว้ทุกข์แบบสุภาพตามประเพณีที่ปฏิบัติ
๑. สางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
๒. เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน
ฉัตร 9 ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร 7 ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร 5 ชั้น : สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน 5 ชั้น
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง 100 วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ในวันที่ 9 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้พนักงานจัดเศวตฉัตรขึ้นเป็น ๗ ชั้น กางกั้นพระโกศ โดยอนุโลมตามโบราณราชประเพณี พระราชทานเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศให้ปรากฏสืบไป
๓. ประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ 06.00 น. 09.00 น. 12.00 น. ไปจนถึง 24.00 น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ 3 ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก 10-15นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล)
๔. สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า" ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า "พระศพ" ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า "พระบรมศพ" ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
๕. การแต่งฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ การแต่งกายของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ สำหรับการไว้ทุกข์มี 2 แบบ ฉลองพระองค์เต็มยศ และฉลองพระองค์แบบสากล แบบแรกฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจักรี ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย และจะฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศสายสะพายจักรี ในการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน 100 วัน และวันออกพระเมรุ ส่วนแบบสากลฉลองพระองค์สูทสีดำ ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย สำหรับข้าราชการ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็แต่งกายไว้ทุกข์ตามราชประเพณีตามแต่จะมีหมายกำหนดการกำหนดแจ้งไว้ ส่วนประชาชนก็แต่งกายไว้ทุกข์แบบสุภาพตามประเพณีที่ปฏิบัติ
๖. ขบวนรถอัญเชิญพระศพเป็นแบบเรียบง่ายโดยรถโรงพยาบาล ขบวนรถจะจัดอย่างไรก็ได้ไม่มีระเบียบแบบแผน และจะเป็นแบบเรียบง่ายที่ปฏิบัติกันมาในอดีตก็จะอัญเชิญโดยรถโรงพยาบาลเหมือนกันทุกพระองค์
๗. การปฏิบัติตนไว้ทุกข์ของประชาชน การปฏิบัติตนของประชาชนในการเข้าไปถวายสักการะพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคมเป็นต้นไปนั้น เบื้องต้นประชาชนควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีใส่เสื้อผ้าสีดำหรือสีขาว การกราบพระศพจะกราบครั้งเดียวไม่แบมือ สุภาพสตรีควรนุ่งกระโปรง เพราะตามธรรมเนียมที่จะไม่นุ่งกางเกงเข้าในพระบรมมหาราชวัง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นแบบเรียบร้อย ส่วนประชาชนทั่วไปที่จะแสดงออกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สามารถทำได้ทุกอย่าง ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ 10 มกราคม สามารถทำได้ทันที ทั้งการตักบาตร ทำบุญ บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญทาน ถวายสังฆทานต่างๆ บวชพระ เลี้ยงพระ นิมนต์พระมาเทศน์ ก็สามารถทำได้
8. บรรจุพระศพลงหีบพระศพแทนพระโกศ ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จสวรรคต จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพ ลงในพระโกศ แต่ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมศพ และพระศพ ลงหีบพระศพ แทนใส่การใส่พระโกศ ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชอัธยาศัย ได้แก่ พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น